TKP HEADLINE

ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านโพธิ์

 

ผ้าฝ้ายทอมือบ้านโพธิ์ เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้านตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะ กศน.ตำบลบ้านโพธิ์ ภายใต้สังกัด กศน.อำเภอเมืองนครราชสีมา ได้เข้ามาส่งเสริมความรู้ควบคู่การนำความรู้จากกลุ่มทอผ้า มาเผยแพร่ให้กับประชาชน นักศึกษา กศน. ได้รู้จัก ได้เรียนรู้การทอผ้า อ่านต่อ

กำปั่น บ้านแท่น


 นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ หรือกำปั่น บ้านแท่น ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 สาขาศิลปะการแสดง เพลงโคราช กล่าวว่า การได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งแก่ตนเองและครอบครัว จนไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้หมด ซึ่งความรู้สึกดีใจที่ได้รางวัลครั้งนี้ ขอมอบให้แก่พี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมาทุกคน และสิ่งสำคัญคำว่าเพลงโคราชที่จะได้รับการคัดเลือก ยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ อ่านต่อ

ภาษาโคราช


 ภาษาโคราชเป็นภาษาพูดของกลุ่มวัฒนธรรมไทโคราชที่โดดเด่นที่สุดบางครั้งไทโคราชจะถูกเรียกว่า ไทเบิ้ง หรือ ไทดา ซึ่งคนโคราชไม่ค่อยพอใจนัก คำว่า เบิ้ง มีความหมายเดียวกับ บ้าง เดิ้ง ดา มีความหมายเดียวกับ ด้วย ภาษาโคราชมีลักษณะของการผสมผสานระหว่างภาษาไทยกลาง ภาษาอีสานและภาษาเขมร อ่านต่อ

กว่าจะมาเป็นอนุสาวรีย์ย่าโม

ย่าโม หรือคุณหญิงโม เป็นวีรสตรีที่มีส่วนในการสู้รบกับกองทัพเจ้าอนุวงศ์จากเวียงจันทน์ เพื่อกอบกู้แขวงเมืองนครราชสีมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ด้วยวีรกรรมที่กล้าหาญ ในหลวงรัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯสถาปนาคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 อ่านต่อ

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

 

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน มีโครงการก่อสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537 แต่จัดสร้างและสามารถจัดแสดงนิทรรศการ ได้ในปี พ.ศ. 2545 และเนื่องจากไม้กลายเป็นหินพบได้ในเกือบทุกจังหวัดของภาคอีสาน จึงไม่สามารถนำไม้กลายเป็นหินทั้งหมดจำนวนมาก มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ได้ ส่วนใหญ่จึงจัดไว้ในงานภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ โดยแยกเป็นโซนพื้นที่ของไม้กลายเป็นหินจังหวัดต่างๆ ขณะที่ในพิพิธภัณฑ์จะเน้นในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่างของไม้กลายเป็นหิน เช่น ไม้กลายเป็นหินเนื้ออัญมณี เป็นต้น อ่านต่อ

ทำปูนแดง บ้านกอก


การทำปูนแดง ปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นขอหายาก เพราะทุกวันนี้คนที่ยังเคี้ยวหมาก พลู และใช้ปูนอดงเหลือน้อยลง ประกอบกับเมื่อบริโภคน้อยลง พ่อค้าแม่ค้าก็ขายลำบาก อ่านต่อ  

ชุมชนบ้านด่านเกวียน

 

เป็นหมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาหนึ่งของตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นสินค้า โอทอป (OTOP) หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีความโดดเด่นทั้งตัวสินค้าที่มีความแข็งแกร่ง ทนทาน และมีความสวย และเป็นที่นิยมของตลาด อ่านต่อ

หัตกรรมจักสาน บนพื้นฐานความพอเพียง

 

แหล่งเรียนรู้ชุมชนการจักสานจากไม้ไผ่ บ้านหนองพลอง หมู่ที่ 3 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลงจังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านหนองพลอง ประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา และทำสวน เมื่อเสร็จจากการ ทำไร่ ทำนา และทำสวน ชาวบ้านที่นี่ก็จะรวมกลุ่มหันมาทำงานจักสาน งานจักสาน เป็นหัตถกรรมที่ชาวบ้านทำเพื่อใช้ในครัวเรือนมาแต่โบราณ ถึงปัจจุบันถึง อ่านต่อ

สืบสานอาชีพทอผ้าพื้นเมือง


 การทอผ้าใช้กันในหมู่บ้าน มาตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายาย การทอผ้าของชาวอำเภอห้วยแถลงมีอยู่ทุกตำบล แทบจะทุกหมูบ้าน ชาวบ้านอำเภอห้วยแถลงส่วนใหญ่หลังจากเสร็จจากการทำไร่ ทำนา และทำสวนแล้ว กลุ่มสตรีแม่บ้านชาวอำเภอห้วยแถลงก็จะหันมาทอผ้าไว้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ใว้ใส่เวลามีงานบุญประเพณีต่างๆ อ่านต่อ

วัดนักบุญเทเรซา


 คุณพ่อนิโคลาส และชาวบ้านโนนแก้ว ได้ช่วยกันสร้างวัดด้วยหยาดเหงื่อ โดยหามอิฐหามดิน ตัดไม้ในป่าลึก และไปขนทรายด้วยล้อเกวียน ไกลจากหมู่บ้าน 20 กม.ได้ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรง อ่านต่อ

ขนมนางเล็ดน้ำแตงโม

 

เมื่อเอ่ยถึงขนมไทยในสมัยก่อน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักขนมข้าวแตนหรือเรียกกันติดปากว่า”ขนมนางเล็ด” เป็นขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียวราดด้วยน้ำตาล อ่านต่อ

ผีตาปู่

 

เรื่องราวความเชื่อ ความศรัทธาของคนในชุมชนที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนให้ความเคารพบูชาและใช้เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ แทบทุกหมู่บ้านของประเทศไทยเชื่อว่ามี "ผี" ที่คอยปกปักรักษาหมู่บ้านให้มีความสงบร่มเย็น อาจจะมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน ตามแต่ละพื้นที่ เช่น พ่อเฒ่า แม่เฒ่า ศาลตาปู่ แต่ทางภาคอีสานจะเรียกว่า "ผีตาปุ่" อ่านต่อ

ปราสาทหัวสระ (วัดหัวสระปรางค์เก่าคณาราม)


บ้านปรางค์เก่า หมู่ที่ 13 ตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในอดีต "บ้านปรางค์เก่า" ได้อยู่ร่วมกับบ้านหัวสระ โดยบ้านหัวสระเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ต่อมามีครัวเรือนขยายเพิ่มขึ้น จึงแบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน อ่านต่อ

กลุ่มสมุนไพรชีววิถีครบวงจร ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองปลากั้ง

 


พืชสมุนไพรพื้นบ้านกันเถอะว่ามีประโยชน์และดีอย่างไรต่อสุขภาพ จากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพแล้ว ของกลุ่มสมุนไพรชีววิถีครบวงจรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองปลากั้ง อ่านต่อ

การปลูกผักไร้สารพิษ



อำเภอวังน้ำเขียว มีอากาศสดชื่นบริสุทธิ์และทิวทัศน์ที่สวยงามของขุนเขาและธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีแหล่งอาหารที่ดีเพื่อสุขภาพ เหมาะกับคนที่ต้องการดูแลเรื่องการบริโภค โดยธรรมชาติร่างกายมนุษย์เราต้องการสารอาหารที่บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง อ่านต่อ

ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ


 ศูนย์เรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่อง การทำกสิกรรมไร้สารพิษ การปลูกผักไร้สาร การทำเกษตรอินทรีย์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ขอนำเสนอ “ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อ่านต่อ

พุทรานมสดวังน้ำเขียว


 การปลูกพุทรานมสดวังน้ำเขียว เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ดีในระดับหนึ่งให้ชาวอำเภอวังน้ำเขียว เป็นที่นิยมปลูกเป็นอย่างมากในหลายพื้นที่ อ่านต่อ

วัดแสงธรรม แหล่งอารยธรรมวังน้ำเขียว

 

วังน้ำเขียว ไม่ได้เป็นแหล่งโอโซนของจังหวัดนครราชสีมา ที่มีอากาศสดชื่นบริสุทธิ์และทิวทัศน์ที่สวยงามของขุนเขาและธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นที่ตั้งของ วัดแห่งหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อย่าง วัดแสงธรรมวังเขาเขียว อ่านต่อ

วังน้ำเขียวฟาร์ม (Mister Mushroom)


 วังน้ำเขียวฟาร์ม หรือ Mister Mushroom ตั้งอยู่ที่ ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีอากาศดีตลอดทั้งปี ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ฟาร์มเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นคาเฟ่ ที่มีเมนูต่างๆ มากมาย อ่านต่อ

เขาแผงม้า ท้าป่าดง พงกระทิง

 

เรื่องที่น่าสนใจของ “เขาแผงม้า” กันครับ เขาแผงม้า หรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า มีอาณาเขตติดกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ อ่านต่อ

“คั่วหมี่พิมาย”มาพิมายต้องได้กิน

 

หมี่หมี่พิมาย นั้นมีการผลิตขึ้นตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย เป้น ร้อยปี ที่ยึดถือเป็นอาชีพจวบจนปัจจุบัน ก็ยังมีคนสืบทอดอยู่ และยังเป็นที่นิยมในการบริโภคอยู่ โดยเฉพาะงานบุญ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หมีพิมายยังคงเป็นอาหารที่เจ้าภาพต้องจัดปรุงขึ้นโต๊ะทุกงาน อ่านต่อ

กลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านปะคำ อำเภอพระทองคำ


         กลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านปะคำ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 1 ตำบลสระพระ อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา โดยการดำเนินงานของนางสาวสนธยา สุขสบาย ประธานกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านปะคำ

        มีสมาชิกกลุ่มทั้งสิ้น 12 คน ปัจจุบันกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านปะคำ ได้รับการจดทะเบียนเป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลสระพระ ทำเป็นเป็นเครือข่ายของกลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุกบ้านห้วยยางใต้ อ่านต่อ

สืบสานประเพณีท้องถิ่น บุญบั้งไฟเบิกบ้านตำบลดอนยาวใหญ่ (ศิลปวัฒนธรรม)


 ความเชื่อของ ประเพณีบุญบั้งไฟ ปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน โดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก ซึ่งตำนานนั้นมีอยู่ว่า พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” อ่านต่อ

ปราสาทหินโบราณ ปราสาทเมืองแขก


 ปราสาทเมืองแขก เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในบ้านกกกอก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งครั้งล่าสุด ได้พบโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่สำคัญคือทับหลังรูปเทวดานั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล อ่านต่อ

วัดธรรมจักรเสมาราม (วัดพระนอน)


พระนอนหินทราย อายุกว่า 1300 ปี ที่วัดธรรมจักรเสมาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทราวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อด้วยหินทรายที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อ่านต่อ
 

นายเหม เพ็ชรหมื่นไวย ปราชญ์ชาวบ้านด้านเศรษฐกิจพอเพียง


ศูนย์เรียน รู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่ โดยมี นายเหม เพ็ชรหมื่นไวย เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อ่านต่อ

 

การทอผ้าเงี่ยงนางดำ


 การทอผ้าเงี่ยงนางดำ เทศบาลตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ต้องการสืบทอดและอนุรักษ์ผ้าพื้นเมืองของบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ดั่งเดิมที่อพยพมาจากลาวมาอยู่ในประเทศไทย และกลุ่มหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แหล่งน้ำลำตะคลองบริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน อ่านต่อ

ตะกร้าเชือกมัดฟาง


 ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ เมื่อหมด ช่วงฤดูกาลของการทำการเกษตรแล้วไม่มีอาชีพเสริมทำให้ขาดรายได้ จึงทำให้ประชาชนมีเวลาว่างหรือทำอาชีพ เสริมต่างๆ เช่น รับจ้างทั่วไป หลายคนจำเป็นต้องออกจากบ้าน อ่านต่อ

ประเพณีกินเข่าค่ำ


 งานกินเข่าค่ำ อำเภอเมืองสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี ณ บริเวณปราสาทเมืองแขก บ้านกกกอก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยจัดแบบเรียบง่าย เป็นการเตรียมอาหารมารับประทานร่วมกัน อ่านต่อ

วัฒนธรรมการทอผ้าไหมปักธงชัย

 


อำเภอปักธงชัย มีประวัติอันยาวนาน มีความสำคัญตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านการแต่งกายหรือภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา อ่านต่อ

เรื่องเล่าบนลายผ้า วัฒนธรรมผ้าไหมปักธงชัย


 ไหมเป็นเส้นใยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาถักทอเป็น “ผ้านุ่ง” มานานนับพันปี กระบวนการผลิตสิ่งทอจากเส้นไหม นับจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ฟอกล้างกาวไหม ย้อมสีตามลวดลายที่ต้องการโดยใช้วิธีการมัดหมี่ มัดย้อม จุ่มสีหรือแต้มสีตามความถนัด อ่านต่อ

เขื่อนลำพระเพลิง ลำน้ำแห่งชีวิต


  เขื่อนลำพระเพลิง ตั้งอยู่ในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยปกติเรามักจะรู้จักแต่เขื่อนใหญ่ ๆ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ หรือเขื่อนชื่อดังอื่น ๆ ว่ามีความสวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญประจำจังหวัดนั้น ๆ ตามที่เขื่อนนั้นตั้งอยู่ สำหรับ เขื่อนลำพระเพลิง แห่งนี้ อ่านต่อ

ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี กศน.อำเภอปักธงชัย

 

เนื่องในศุภมงคลมิ่งสมัยที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมี พระชนมายุครบ 36 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2534 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอพระราชานุญาต ดำเนินโครงการจัดสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอปักธงชัย อ่านต่อ

หมี่ตะคุ

 

การทำหมี่ตะคุ "พูดถึงถั่วงอกวังหมี ต้องนึกถึงหมี่ตะคุ" ตะคุเป็นชื่อหมู่บ้านและตำบลหนึ่งในอำเภอปักธงชัย ห่างจากที่ว่าการอำเภอปักธงชัยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 4 กิโลเมตร ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาทำไร่ บ้านตะคุเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะการทำหมี่อันลือชื่อ "หมี่" เป็นอาหารพื้นบ้านชนิดหนึ่ง อ่านต่อ

ประเพณีบุญเบิกบ้าน

 


บุญเบิกบ้านหรือ"บุญซำฮะ" เป็นหนึ่งในประเพณีฮีต 12 ของชาวอีสาน ถือว่าเป็นการชำระล้างตามความเชื่อที่ว่า การที่บ้านเมืองเกิดความเดือดร้อน มีข้าศึกมาทำลาย มีโจรปล้น เกิดรบรา ฆ่าฟันแย่งชิงกันเป็นใหญ่ เกิดโรคระบาด ผู้คน ช้าง ม้า วัว ควาย ล้มตายเพราะผีเข้าเจ้าสูญ (ผีโกรธ) คนอีสาน อ่านต่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น นายประสิทธิ์ เบื้องกลาง

 


นายประสิทธิ์ เบื้องกลาง ภูมิปัญญาชาวบ้าน มีพื้นที่นาอยู่ที่บ้านหมูสี หมู่ 6 ตำบลพระพุทธ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เดิมทีประกอบอาชีพเป็นช่างรับเหมาติดตั้งฝ้าเพดานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่มีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ประกอบกับมีอุปนิสัยรักสงบชอบอยู่กับธรรมชาติและที่ดินว่างเปล่าอยู่ จึงหันมาสนใจในการทำการเกษตรอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.2548 อ่านต่อ

การสานเส้นพลาสติก ตำบลดอนใหญ่

 

ารสานตะกร้าพลาสติก เกิดจากภูมิปัญญาที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นในลักษณะของการทำเครื่องจักสาน ลักษณะต่างๆ ซึ่งแต่เดิมได้นำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิประโยชน์ เช่น ไม้ไผ่ หวาย เป็นต้น ซึ่งสามารถหาได้ในพื้นที่แถบนี้มาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้สำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน อ่านต่อ

วัดดอนใหญ่ ตำบลดอนใหญ่

 


วัดดอนใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลดอนใหญ่ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมาประวัติของวัดดอนใหญ่ บ้านดอนใหญ่ ต.ดอนใหญ่ อ.คง โคราช โดยหลวงพ่อใหญ่ พระอธิการอินทร์ พุทธปาลิโต เจ้าอาวาสวัดดอนใหญ่ อ่านต่อ

แหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากไหม ผ้าทอมือของชาวอำเภอคง

 


หากจะพูดถึง เมืองย่าโม โคราชของขึ้นชื่ออย่างหนึ่ง ก็คือผ้าไหม ซึ่งชาวอำเภอคง บ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชีสีมา พื้นเพดังเดิม ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ นา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร แต่สำหรับ บ้านห้วยทราย คุณแม่นิยม เทศชาตรี ได้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อ่านต่อ

วัดป่าเทพาลัย ชุมชน ตำบลเทพาลัย

 

วัดป่าเทพาลัย เป็นวัดป่า สร้างขึ้นเมื่อปี 2529 เดิมชื่อวัดป่าเทพาวัน ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมาปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น วัดเทพาลัย ตามใบอนุญาตสร้างวัดและชื่อวัดจากเถรสมาคม เป็นสำนักปฏิบัติธรรม มาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด อ่านต่อ

หลวงพ่อใหญ่ วัดบ้านเมืองคง ศาสนสถานกราบไหว้บูชาของชาวอำเภอคง

 


จากการบอกเล่าของพระเดชพระคุณเจ้า พระครูพิจิตร กิจจาธร ซึ่งพระคุณเจ้าเป็นลูกหลานของบ้านเมืองคง เกิดที่บ้านเมืองคงในตระกูลกรวยสวัสดิ์เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส พระคุณเจ้าให้ความเมตตาเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของศาสนสถานวัดบ้านเมืองคงและศาสนวัตถุ ซึ่งถือเป็นศาสนวัตถุที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย อ่านต่อ

ตลาดน้ำฉ่า แหล่งท่องเที่ยวสะท้อนวิถีชีวิตชนบท

 


อำเภอขามทะเลสอ เป็นอำเภอขนาดเล็ก มีต้นทุนทางธรรมชาติน้อย ไม่ค่อยมีคนรู้จัก บ้านน้ำฉ่า หมู่ที่ 3 ตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ มีทรัพยากรพร้อมทั้งด้านบุคคลและสถานที่ ผนวกกับความต้องการของชาวบ้านน้ำฉ่าที่จะพัฒนาพื้นที่ริมลำตะคอง อ่านต่อ

การทำเกษตรผสมผสาน : นางณัฐธิดา แท่งทองหลาง

 


ด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวงรวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่น ๆ มากขึ้น อ่านต่อ

กลุ่มงานผ้าบ้านพวงพะยอม

 


" พ. ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเขาสั่งมาว่า........" บทเพลงนี้มีเนื้อหาคล้ายกับความเป็นมาของชุมชนบ้านพวงพะยอมแห่งนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มงานผ้าบ้านพวงพะยอมในสมัยนั้น อ่านต่อ




วัดหนองขุ่น เที่ยววัดวิถีใหม่ ได้ทั้งความรู้ มีความสุข

 


ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะวิทยาการที่ชาวบ้านจากชุมชนรอบๆได้เดินทางเข้ามาเพื่อศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆแต่ในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยแต่วัดยังคงเป็นศูนย์กลางรวมทางจิตใจผู้ที่เข้าวัด อ่านต่อ



ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดนครราชสีมา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand